วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่านค่าตัวต้านทานแต่ละแถบสี

การอ่านค่าความต้านทาน
การอ่านค่าความต้นทานนั้นอ่านตามหน่วยของความต้านทาน ( Unit of Resistance) โดยอ่านตามค่าความต้านทานที่แสดงไว้บนตัวเลขและตัวอักษรรวมกัน แบ่งการแสดงค่าออกเป็น 2 แบบ คือแบบแสดงค่าความต้านทานโดยตรงและแบบแสดงค่าความต้านทานเป็นรหัส ซึ่งอาจเป็นรหัสสีของตัวต้านทานแต่ละวิธีการอ่านมีดังนี้
การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทาน
การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทานมีอยู่ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1
อ่านจากค่าพิมพ์ที่ติดไว้บนตัวต้านทาน โดยจะบอกเป็นค่าความต้านทาน ค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด และอัตราทดกำลังไฟฟ้า ซึ่งส่วนมาจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ เช่นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
วิธีที่ 2
อ่านจากค่ารหัสสีของตัวต้านทาน (Resistor Colour Code)ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวต้านทานคาร์บอน ฟิล์มคาร์บอน ฟิล์มโลหะ และแบบไวร์วาวด์ที่มีขนาดเล็ก

สำหรับการอ่านค่าความต้านทานที่เป็นรหัสสี จะแบ่งลักษณะการอ่านได้เป็น 2 แบบคือ
1. ระบบตัวหัวจุก (Body – End – Dot System) คือตัวต้านทานที่มีการต่อขาใช้งานในแนวรัศมี
หรือทาด้านข้างของตัวต้านทาน
2. ระบบหัวถึงปลาย (End – To – Center Band System) คือ ตัวต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาใช้งานตามความยาวของตัวต้านทาน




ตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน

1. การอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด
ตัวต้านทานชนิดนี้ตัวมันจะมีสีเดียวกันตลอด และมีการแต้มสีไว้บนที่ด้านหัวและตรงกลาง ซึ่งอาจจะทำเป็นจุดสีหรือทาสีไว้โดยรอบตัวต้านทาน
รูปแสดง วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด



วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.พิจารณาสีพื้นของตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 1 (ตัวเลขที่ 1 )
2.สีแต้มที่ปลายด้านหัวที่ไม่ใช่สีน้ำเงินและสีทอง จะเป็นแถบสีที่ 2 (ตัวเลขที่ 2 )
3.สีแต้มหรือจุดสีที่อยู่ตรงกลางตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 3 (ตัวคูณ)
4.สีที่ปลายด้านท้ายที่เป็นสีเงิน สีทองหรือไม่มีสี จะเป็นแถบสีที่ 4 ( +_ % ค่าผิดพลาด)ในการการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด จะมีทั้งแบบ 3 หรือ 4 แถบสี ซึ่งจะมีวิธีการอ่านที่เหมือนกัน และใช้ค่ารหัสสีตัวต้านทานในตารางที่ 1
2. การอ่านรหัสสีของตัวต้านทานระบบหัวถึงปลาย
ตัวต้านทานบางแบบนิยมแสดงค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสีโดยใช้สีที่เป็นมาตรฐานกำหนดแทนตัวเลขซึ่งแทนทั้งค่าความต้านทานและค่าความผิดพลาด แถบสีที่ใช้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ 4 แถบสี และแบบ 5 แถบสี
การอ่านค่าแถบสีเป็นค่าความต้านทานและค่าผิดพลาด ต้องเปลี่ยนแถบสีที่ทำกำกับไว้เป็นตัวเลขทั้งหมด แทนค่าตัวเลขให้ถูกต้องตามค่าตัวตั้ง ค่าตัวคูณ และค่าผิดพลาด ตามมาตรฐานที่กำหนด จะได้ค่าความต้านทานและค่าผิดพลาดของตัวต้านทานตัวนั้นออกมา
แบบ 4 แถบสี
ตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี มีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 4 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ขาตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 แถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 2 ทั้ง 2 แถบสีแทนค่าเป็นตัวเลขแล้วอ่านได้โดยตรง ส่วนแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 3 เป็นแถบสีตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 4 เป็นแถบสีแสดงค่าผิดพลาด แสดงดังตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน

ตัวอย่างการอ่านรหัสสีตัวต้านทาน
ตัวอย่าง 1
แบบ 5 แถบสี
ตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีจะมีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 5 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 เรียงลำดับเข้ามาเป็นแถบสีที่ 2 และแถบสีที่ 3 ทั้ง 3 แถบสิ่งที่เป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้โดยตรง ส่วนแถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีที่ 5 เป็นค่าผิดพลาด แสดงดังตารางที่ 2
ตารางตัวอย่างตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี


ความต้านทานแบบ 6 สี จะอ่านค่า 5 แถบสีแรกแบบความต้านทาน 5 แถบสี ส่วนสีที่ 6 คือค่า Temperrature Coefdicient (CT) หรือสัมประสิทธ์ทางอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น ppm (part per million : ส่วนในล้านส่วน) เป็นค่าแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
แหล่งอ้างอิง

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน(ไอน้ำ)


ลักษณะการทำงาน
เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่องกังหันไอน้ำเป็นเครื่องต้นกำลังหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูงนี้ได้จากการเปลี่ยนสถานะของน้ำในหม้อน้ำ เมื่อได้รับพลังความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในเตาเผา ( Furnace) ไอน้ำจะถูกส่งไปขับดันกังหันไอน้ำ ซึ่งมีเพลาต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หลังจากนั้นก็จะผ่านไปกลั่นตัวเป็นน้ำที่เครื่องควบแน่น (Condenser) และถูกส่งกลับมารับความร้อนใหม่ในหม้อน้ำ เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนสถานะของน้ำให้เป็นไอได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเริ่มเดินเครื่องแต่ละครั้ง จนใช้งานได้ จะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าฐาน (Base Load Plant) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา เป็นระยะเวลานานก่อนการหยุดเครื่องแต่ละครั้ง โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมีขนาดประมาณ 1 – 1,300 เมกะวัตต์ สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลายชนิด เช่น ถ่านหิน น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ ขยะ ฯลฯ และมีประสิทธิภาพประมาณ 30 – 35 % และมีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี
ส่วนประกอบที่สำคัญ
หม้อน้ำ (Boiler) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานจากเชื้อเพลิงชนิดต่างๆให้เป้นพลังงานความร้อนในรูปของไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูง หม้อน้ำมีลักษณะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน เช่น Fire – Tube Boiler เป็นหม้อน้ำขนาดเล็ก ๆ ใช้ผลิตไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิไม่สูงมาก Water – Tube Boiler เป็นหม้อน้ำขนาดใหญ่ใช้ผลิตไอน้ำที่มีความดันและอุณหภูมิสูงโดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ DRUM ซึ่งสามารถผลิตไอน้ำได้ที่ความดันสูงถึง 177 ความดันบรรยากาศ (179 Bar) และแบบOnce - Through ซึ่งสามารถผลิตไอน้ำได้ทั้งที่ความดันต่ำและสูงกว่าความดันวิกฤติของน้ำ (Critical Pressure ) คือ 218ความดันบรรยากาศ ( 220.5 Bar )
หม้อน้ำมีระบบที่สำคัญ คือระบบเชื้อเพลิง ระบบการเผาไหม้ Evaporator Drumหรือ Separater Superheater , Economizer, Air Heater, Fan และอุปกรณ์ประกอบ
กังหันไอน้ำ (Steam Turbine) มีขนาดต่างๆตั้งแต่ขนาดเล็ก (เล็กกว่า 1 เมกะวัตต์) แบบ Single – Cylinder , Non – Reheat Type จนถึงขนาดใหญ่ (ใหญ่กว่า 1,000 เมกะวัตต์) แบบ Multi - Cylinder Reheat Type
กังหันไอน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ Control Valve, Stop Valve, Stator Blade, Rotor Blade, Casing and Rotor พร้อมอุปกรณ์ประกอบที่จำเป็นอื่นๆ เช่น Feed – Water Heating Plant, Pump และความควบแน่น (Condenser) เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

http://prinfo.egat.co.th/steam_power_plant.html

พลังงานทดแทน

พลังงานทดแทน (Alternative Energy)
ในที่นี้หมายถึงพลังงานใดๆที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนแหล่งพลังงาน ซึ่งมีการสะสมตามธรรมชาติและใช้หมดไป (เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม ฯ ) พลังงานทดแทนภายในประเทศซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ผลิตไฟฟ้ามีอาทิ เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ น้ำ พืช วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ขยะ ฯ เนื่องจากพลังงานทดแทนดังกล่าวมีลักษณะ กระจายอยู่ตามธรรมชาติและไม่มีความสม่ำเสมอ การลงทุนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้าจึงสูงกว่าการนำมาใช้ประโยชน์ จากแหล่งประเภทน้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ
พลังงานจากแสงอาทิตย์
ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ในเกณฑ์สูงพลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation) ประมาณร้อยละห้าสิบ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ (เมฆ) ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ - ใต้






พลังงานลม
พลังงานลมในภูมิภาคนี้ของโลกจัดอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน (อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำ กังหันผลิตไฟฟ้า) ได้ความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 ถึง 50 วัตต์ต่อตารางเมตร จากมหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในระหว่างฤดูมรสุม และจากทางประเทศจีนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างฤดูหนาว





พลังงานความร้อนใต้พิภพ
มีปรากฎการณ์ตามธรรมชาติในลักษณะน้ำพุร้อนกว่าหกสิบแห่งตามแนวเหนือ-ใต้แถบชายแดนตะวันตกของประเทศไทย(แนวเทือกเขาตะนาวศรี) สันนิษฐานว่าจะเป็นแหล่งประเภทเดียวกันกับที่แคว้นยูนานในประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากอยู่ในแนวซ้อนของแผ่นทวีปคู่เดียวกัน (Indian Plate ซึ่งมุดลงใต้ Chinese Plate และเกิดแรงดันในลักษณะ Back Arch) จัดอยู่ในแหล่งขนาดเล็กถึงปานกลาง และคาดว่าสามารถให้พลังงานกับโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 50 เมกะวัตต์








การสำรวจภาคพื้นดิน(Reconnaissance Survey)
ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 สรุปได้ว่าจาก 5 แห่งแรก (อยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ) 2 แห่ง คือ ที่ อำเภอฝางและอำเภอ สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ควรได้รับการสำรวจโดยละเอียดต่อไปและขณะนี้กำลังดำเนินการสำรวจธรณีฟิสิกส์ (รวมถึงการเจาะสำรวจ) ที่แหล่งทั้งสองไปพร้อมๆกัน คาดว่าจะเป็นแหล่งกักเก็บอุณหภูมิปานกลาง (100-200 องศาเซลเซียส)คล้ายคลึงกับแหล่ง ของประเทศจีนที่แคว้นยูนาน ซึ่งได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าขนาด 2 x 5 เมกะวัตต์แล้ว ประมาณการไว้ว่าจะสามารถสรุปผลการสำรวจได้ภายในปี พ.ศ. 2531 - 2532 การสำรวจดังกล่าวแล้วนี้ระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ของรัฐบาลด้วย


โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Unfired เป็นชนิดที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิงเพื่อการเผาไหม้ในหม้อน้ำ แต่ใช้ไอเสียจากกังหันก๊าซ เพียงอย่างเดียวโรงไฟฟ้าประเภทนี้กำลังผลิประมาณ 70 % จะเป็นกำลังผลิตจากเครื่องกังหันก๊าซและอีกประมาณ 30% จะเป็นกำลังผลิตจากเครื่องกังหันไอน้ำ





พลังงานจากชีวมวล

โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวางวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ฯ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาล ฯ ขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆในประเทศในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลดปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ฯ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาดของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน(Gasifier) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน

แหล่งอ้างอิง

http://prinfo.egat.co.th/po.html

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

การหักเหของแสง

การหักเหของแสง
( Refraction of Light )การหักเหแสงเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งแสงจะมีการหักเห และการหักเห จะเกิดขึ้นเฉพาะผิวรอยต่อของตัวกลางเท่านั้นสิ่งควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง - ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม - ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง จะอยู่ในแนวเดิมถ้าแสงตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง จะไม่อยู่ในแนวเดิมถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง กฎการหักเหของแสง 1. รังสีตกกระทบ เส้นแนวฉาก และรังสีหักเห อยู่ในระนาบเดียวกัน 2. สำหรับตัวกลางคู่หนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างค่า sin ของมุมตกกระทบ ในตัวกลางหนึ่งกับ ค่า sin ของมุมหักเหในอีกตัวกลางหนึ่ง มีค่าคงที่เสมอจากกฎข้อ 2 สเนลล์นำมาตั้งเป็นกฎของสเนลล์ได้ดังนี้
และ
v = ความเร็วของแสง ในตัวกลางใด ๆ เมตร/วินาทีn = ดัชนีหักเหของแสงในตัวกลาง(ไม่มีหน่วย) หรือ คือ ดัชนีหักเหสัมพัทธ์ระหว่างตัวกลางที่ 2 เทียบกับตัวกลางที่ 1c = ความเร็วแสงในสุญญากาศ และ v คือความเร็วแสงในตัวกลาง = 3 X 10 8 m/s
นั่นคือ ตัวกลางที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงน้อย (ความหนาแน่นน้อย) แสงจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ตัวกลางที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงมาก (ความหนาแน่นมาก) แสงจะเคลื่อนที่ด้วยความต่ำ ข้อควรจำ nอากาศ = 1 ส่วน n ตัวกลางอื่น ๆ จะมากกว่า 1 เสมอ
การหักเหของแสงเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ
1.การหักเหเข้าหาเส้นแนวฉาก เกิดขึ้นเมื่อ
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมาก
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความเร็วมากไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วน้อย
2. การหักเหออกจากเส้นแนวฉาก เกิดขึ้นเมื่อ
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยหรือ
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมากไปสู่ตัวกลางที่มีดัชนีหักเหน้อยหรือ
- แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความเร็วน้อยไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วมาก

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คุณสมบัติของแสง

สมบัติของแสง
ภาพ (image) เกิดจากการตัดกันหรือเสมือนตัดกันของรังสีของแสงสะท้อนมาจากกระจกหรือหักเหผ่านเลนส์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. ภาพจริง เกิดจากรังสีของแสงตัดกันจริง เกิดด้านหลังกระจกหรือเลนส์ ต้องมีฉากมารับจึงจะมองเห็นภาพ ลักษณะภาพหัวกลับกับวัตถุ มีทั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เท่ากับวัตถุ และเล็กกว่าวัตถุ ซึ่งขนาดกับระยะวัตถุ เช่น ภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ เป็นต้น

ภาพที่ 12.14 แสดงการเกิดภาพจริง(มานี จันวิมล : 2545, 103)
2. ภาพเสมือน เกิดจากรังสีของเสมือนตัดกันทำให้เกิดภาพด้านหน้ากระจกหรือเลนส์ มองเห็นภาพได้โดยไม่ต้องใช้ฉากรับภาพ ภาพมีลักษณะหัวตั้งเหมือนวัตถุ เช่น ภาพเกิดจากแว่นขยาย เป็นต้น
ภาพที่ 12.15 แสดงการเกิดภาพจากแว่นขยาย(ชัยวัฒน์ การชื่นศรี : 2545, 39)
ภาพจากกระจกเงาเกิดจากการสะท้อนของแสงคือ เมื่อแสงจากวัตถุตกกระจกเงา แสงสะท้อนจากกระจกจะพบกัน ทำให้เกิดภาพของวัตถุขึ้น แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. ภาพจากกระจกเงาราบ (plan mirror) เมื่อคนยืนหรือวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาราบ ภาพที่เกิดขึ้นในกระจกเงาราบจะเป็นภาพเสมือนหัวตั้งอยู่หลังกระจก มีระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพ และขนาดของวัตถุเท่ากับขนาดของภาพ แต่มีลักษณะกลับด้านกันจากซ้ายเป็นขวาของวัตถุจริง (ภาพที่ 12.16)
ภาพที่ 12.16 แสดงการเกิดภาพจากกระจกเงา(เทเลอร์ บาร์บารา : 2546, 25)
2. ภาพจากกระจกเงาผิวโค้ง กระจกผิวโค้งซึ่งเป็นส่วนของวงกลมนั้นมี 2 ชนิด คือ กระจกนูน และกระจกเว้า มีลักษณะการเดินภาพดังภาพที่ 12.17 และ 12.18
กระจกนูน1. กระจายแสง
2. ส่วนสะท้อนแสงอยู่ที่ผิวด้านนอกของทรงกลม
3. ทำหน้าที่กระจายแสง
4. เกิดภาพเสมือนหัวตั้ง ขนากเล็กกว่าวัตถุ และภาพกลับข้างจากข้างซ้ายเป็นข้างขวา
5. ถูกนำมาใช้ทำกระจกมองข้างและมองหลัง ของรถยนต์
กระจกเว้า1. รวมแสง
2. ส่วนสะท้อนแสงอยู่ที่ผิวด้านในของทรงกลม
3. ทำหน้าที่รวมแสง
4. เกิดภาพได้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน มีทั้งขนาดย่อและขยายขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างวัตถุกับกระจก
5. ถูนำมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ให้หมอฟันใช้ส่องดูฟันในปากคนไข้ภาพที่ 12.17 แสดงการเกิดภาพจากกระจกนูนและกระจกเว้า(บุญถึง แน่นหนา : 2544, 54)ภาพที่ 12.18 แสดงภาพที่เกิดจากกระจกเลนส์นูนและกระจกเว้า (บุญถึง แน่นหนา) : 2544, 54)เลนส์ (lens) คือ วัตถุโปร่งใสผิวโค้งด้านหนึ่งหรือโค้งทั้งสองด้าน เมื่อแสงจากวัตถุหักเหผ่านเลนส์ก็จะได้ทำให้เกิดภาพ จำแนกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ เลนส์นูนและเลนส์เว้า (ภาพที่ 12.19)

เลนส์นูน- มีลักษณะตรงขอบเลนส์บางกว่าตรงกลางเลนส์ - มีผิวด้านโค้งนูนรับแสง- มีหน้าที่รวมแสง - ให้ภาพได้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน- ประโยชน์ใช้ทำแว่นตาสำหรับคนสายตายาว ใช้ทำแว่นขยาย เป็นส่วนประกอบของกล้อง เลนส์เว้า- มีลักษณะตรงกลางเลนส์บางตรงขอบของเลนส์นอก - มีผิวด้านโค้งเว้ารับแสง- มีหน้าที่กระจายแสง - ให้ภาพเสมือนเท่านั้น - ประโยชน์ใช้ทำแว่นตาสำหรับคนสายตาสั้นภาพที่ 12.19 แสดงคุณสมบัติของเลนส์นูนรวมแสงและเลนส์เว้ากระจายแสง(บุญถึง แน่นหนา, 2544 : 57)เมื่อนำเลนส์นูนไปรับแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแสงขนานแบบหนึ่ง จะเกิดเป็นจุดสว่างด่านหลังเลนส์เรียกว่า “จุดรวมแสงหรือจุดโฟกัส” โดยระยะห่างจากจุดรวมแสงถึงเลนส์เรียกว่า “ความยาวโฟกัส” เมื่อวางวัตถุไว้ที่ระยะสั้นกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์นูน จะเกิดภาพเสมือนขนาดขยาย ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในกรณีของเลนส์เว้าซึ่งเป็นเลนส์กระจายแสงเมื่อนำเลนส์เว้าไปรับแสงขนาน จะพบว่าแสงขานนั้นจะกระจายออกจากจุดจุดหนึ่ง โดยถ้าลากเส้นต่อแนวรังสีที่กระจายออกนั้นให้ยาวขึ้น แนวรังสีนี้จะตัดกันที่จุดดังกล่าวและเรียกจุดนี้ว่า “จุดโฟกัสของเลนส์เว้า”

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กล้องจุลทรรศน์

ทัศนอุปกรณ์
1 แว่นขยาย


การที่ตามองเห็นวัตถุมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับขนาดของภาพที่ตกบนเรตินา ซึ่งขึ้นอยู่ กับมุม ที่วัตถุรองรับลูกตา ถ้ามุมที่รองรับวัตถุมาก ภาพที่เกิดบนเรตินา จะมีขนาดใหญ่ ดังรูป

รูปที่แสดงภาพบนเรตินา
ถ้าเลื่อนวัตถุใกล้เข้ามาภาพที่เกิดบนเรตินาก็จะโตขึ้น แต่ก็จะถูกจำกัดด้วยระยะใกล้ตา เพราะใกล้กว่านี้ถึงแม้ภาพบนเรตินาจะใหญ่แต่ภาพไม่ชัด เพื่อจะให้ภาพที่เกิดมี ความชัดเราต้องใช้เลนส์นูนมาช่วยในการขยายภาพ เลนส์นูนที่ใช้ในลักษณะนี้เรียกว่า “แว่นขยาย” ซึ่งแว่นขยายเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เห็นภาพขยายใหญ่ขึ้นที่ระยะ 25 เซนติเมตร โดยภาพที่เกิดจากแว่นขยายเป็นภาพเสมือนหัวตั้ง ดังรูป

รูปที่แสดงการทำงานของแว่นขยาย
2.กล้องจุลทรรศน์ (Microscope)
กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เรามองเห็นวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยเลนส์นูนความยาวโฟกัสสั้น ๆ 2 อัน โดยเลนส์อันหนึ่งอยู่ใกล้วัตถุเรียกว่าเลนส์ใกล้วัตถุ (Objective Lens) และเลนส์อันหนึ่งอยู่ใกล้ตาเรียกว่าเลนส์ใกล้ตา(Eyepiece Lens) โดยความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตามาก

วางวัตถุไว้ในระหว่าง ของเลนส์ใกล้วัตถุ จะได้ภาพจริงขนาดขยายอยู่หน้าเลนส์ใกล้ตาโดยจะเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตา โดยวัตถุเสมือนนี้ จะต้องอยู่ระหว่างความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุกับเลนส์ เกิดภาพเสมือนขนาดขยายที่ระยะที่เห็นชัดปกติของตา คือประมาณ 25 เซนติเมตร โดยในทาง ปฏิบัติวิธีทำให้เห็นภาพชัดเรียกว่าการโฟกัสภาพทำได้โดยเลื่อนเลนส์ใกล้ตาเพื่อปรับระยะวัตถุให้เหมาะสมที่จะเกิดภาพที่ระยะเห็นได้ชัดเจน

รูปที่แสดงทางเดินแสงของกล้องจุลทรรศน์


ความยาวของตัวกล้องจุลทรรศน์ (Length 0f Microscope , L) คือระยะระหว่างเลนส์วัตถุถึงเลนส์ตา
L = (20)
โดยที่ แทนระยะภาพของเลนส์ใกล้วัตถุ
แทนระยะวัตถุของเลนส์ใกล้ตา
L
=
(20)

โดยที่
แทนระยะภาพของเลนส์ใกล้วัตถุ

แทนระยะวัตถุของเลนส์ใกล้ตา



กำลังขยายของกล้องจะมีค่าขึ้นกับผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ

3.กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)
กล้องโทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูวัตถุที่อยู่ไกล ประกอบด้วยเลนส์ 2 เลนส์ มี 2 ประเภท คือ
ก. กล้องโทรทรรศน์หักเห (Refracting telescope) ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้วัตถุมีความยาวโฟกัสมากอาจจะถึงหลาย ๆ เมตร เนื่องจากวัตถุที่ต้องการดูอยู่ไกล มากดังนั้นภาพที่เกิดจึงตกที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตาโดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้ตาก็ได้ วัตถุเสมือนนี้จะอยู่ระหว่างจุดโฟกัส ของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ ดังนั้นภาพสุดท้ายที่เกิดขึ้นจะได้ภาพเสมือนขนาดขยาย
ข. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflecting telescope) ใช้กระจกเว้ารูปพาราโบลาที่ไม่มีความคลาดเป็นตัวสะท้อนแสงใกล้วัตถุ ภาพที่ได้เกิดขึ้นที่ จุดโฟกัสใช้กระจกนูนเป็นตัวสะท้อนครั้งที่สอง เกิดภาพเสมือนขนาดขยาย

กล้องดาราศาสตร์เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ประกอบด้วยเลนส์นูน 2 อัน เลนส์ใกล้วัตถุจะรับแสงสะท้อนจากวัตถุที่ระยะอนันต์ เกิดภาพจริงหัวกลับที่จุดโฟกัสของเลนส์ ใกล้วัตถุแต่อยู่ในระยะที่น้อยกว่าโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา ได้ภาพเสมือนขนาดขยาย ความยาวของกล้องเท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์ทั้งสอง

4 เครื่องตรวจในลูกตา
เครื่องตรวจในลูกตาใช้หลักการให้แสงตกกระทบกระจกเงาราบแล้วสะท้อนไปยังตาผู้ป่วย แล้วตกกระทบบนเรตินาแล้วสะท้อนออกมา จักษุแพทย์สามารถมองเห็นเรตินา และภายในลูกตาผู้ป่วยได้

5.เครื่องฉายภาพนิ่ง
เครื่องฉายภาพนิ่งใช้สำหรับฉายภาพประเภทโพสิทีฟ ขาวดำ หรือฟิล์มสี ถ้าฟิล์มที่ฉายมีแผ่นเดียว เรียกว่า “สไลด์” แต่ถ้าเป็นฟิล์มติดต่อกันเรียกว่า “ฟิล์มสตริฟ”
เครื่องฉายภาพนิ่งมีส่วนประกอบและหน้าที่สำคัญดังนี้
1. กระจกสะท้อนแสง ทำด้วยโลหะฉาบอะลูมิเนียม ทำหน้าที่สะท้อนแสงด้านหลังของหลอดฉายไปใช้ประโยชน์ด้านหน้า
2. หลอดฉาย เป็นหลอดไฟขนาดเล็ก มีกำลังการส่องสว่างสูง เนื่องจากหลอดฉายแผ่รังสีความร้อนสูงมาก เครื่องฉายภาพทั่วไปจึงมีพัดลมเป่าระบายความร้อน
3. เลนส์รวมแสง เป็นเลนส์นูนแกมระนาบ 2 อัน หันด้านนูนเข้าหากัน ทำหน้าที่รวมแสงทั้งหมดให้มีความเข้มสูงผ่านสไลด์ และทำให้เกิดภาพจริงของหลอดฉายไปตกตรงจุดศูนย์กลางของเลนส์ภาพ เพื่อมิให้เกิดภาพของหลอดไฟที่จอฉาย
4. เลนส์หน้ากล้อง เป็นเลนส์นูนเดี่ยวหรือหลายอันประกอบกัน เลนส์หน้ากล้องมีหน้าที่ฉายภาพไปเกิดภาพจริงหัวกลับที่จอ

การปรับภาพให้ชัดเจน ปรับโดยการปรับเลนส์ฉายภาพ ภาพที่เกิดเป็นภาพขนาดขยาย จึงต้องวางสไลด์ในระยะระหว่าง f กับ 2f ของเลนส์ฉายภาพ


การฉายระบบตรง (Direct Projection) มีหลักการทำงานโดยสังเขป คือ แสงที่สะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสง รวมกับแสงโดยตรงจากหลอดฉาย ผ่าน เลนส์รวมแสงผ่านวัสดุที่นำมาฉาย และผ่านเลนส์ภาพไปสู่จอ ดังแผนภาพ

การฉายระบบนี้มีการสูญเสียความเข้มของแสงน้อย จึงสามารถใช้ฉายในห้องที่มีแสงสว่างไม่มากเกินไปนักได้ เครื่องฉายที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์เครื่องฉานฟิล์ม และเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายระบบตรงนี้โดยปกติจะให้ภาพโดยพอเหมาะ เมื่อฉายในระยะห่างจากจอไกลสมควรจึงเรียกเครื่องฉายระบบนี้ว่า "Long throw"

6. กล้องสองตา(Binocular)

กล้องสองตาจัดว่าเป็นอุปกรณ์ดูดาวที่ควรมีไว้เริ่มต้นกับใช้งานก่อนจะคิดซื้อกล้องดูดาวราคาแพง นักดูดาวหลายคนที่มีกล้องดูดาวอยู่แล้วแต่ก็ต้องมีกล้องสองตาไว้คู่กายเสมอ กล้องสองตาเป็นกล้องส่องทางไกลแบบหักเหแสงที่ปรับปรุงให้เกิดภาพจริงหัวตั้งและสามารถมองได้พร้อมกันทั้งสองตา โดยทั่วไปจะมีกำลังขยายน้อยเพราะข้อจำกัดในเรื่องของขนาดเลนซ ์
กล้องสองตาใช้ปริซึมเป็นตัวปรับปรุงมุมของแสงทำให้เกิดภาพหัวตั้ง นอกจากนี้ปริซึมยังช่วยให้ความยาวของตัวกล้องลดลงด้วย เพราะทำให้แสงจากเลนซ์วัตถุมีการสะท้อนอยู่ภายในปริซึมทำให้ความยาวของตัวกล้องสั้นลงได้
เนื่องจากกล้องสองตามีกำลังขยายต่ำและน้ำหนักเบา จึงเป็นที่นิยมของนักดูดาวทั่วไปที่ใช้กล้องสองตาเป็นอุปกรณ์เริ่มต้นในการค้นหาวัตถุบนท้องฟ้าก่อน ดังนั้นกล้องสองตาจึงนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ในการดูดาวเป็นอย่างมาก
เราแบ่งชนิดของกล้องสองตาออกเป็นสองแบบ ตามลักษณะของปริซึมภายในคือ
1. กล้องแบบ Porro-prism ใช้ปริซึทแบบ 90 องศาสองตัววางทำมุมกัน 90 องศา ทำให้มีการเบี่ยงทิศทางของลำแสงและกลับภาพได้ กล้องแบบนี้มักมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก แต่ข้อดีคือ การประกอบปริซึม แบบ porro ทำได้ง่ายกว่าทำให้กล้องมีราคาถูก

2. กล้องแบบ Roof-prism เป็นปริซึมที่ออกแบบมาพิเศษ ทำให้แสงที่เข้ากับออก อยู่ในแนวเดียวกัน ตัวปริซึมถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ภาพมีการกลับหัวให้ถูกต้อง กล้องแบบนี้จะประกอบ ยากกว่าแบบ Porro prism ทำให้มีราคาแพงกว่า และการวางปริซึมแบบนี้ทำให้มีการสูญเสียของเสงเมื่อมีการสะท้อนภายในปริซึม จึงมีข้อจำกัดในการใช้ตอนกลางคืน แต่ในเวลากลางวันไม่มีปัญหา ข้อดีคือ มักจะมีขนาดกระทัดรัดพกพาสะดวก

วิธีสังเกตว่ากล้องสองตาแบบไหนใช้ปริซึมแบบ Porro หรือแบบ Roof โดยดูลักษณะของแสงที่เข้าและออกจากกล้องสองตา ถ้าเป็นแนวตรงเหมือนไม่ได้ผ่านอะไรเลยก็จะกล้องสองตาแบบ Roof ปริซึม แต่ถ้าแนวของแสงเข้าไม่ได้เป็นแนวเดียวกับแสงออกซึ่งดูเหมือนจะต้องมีการหักหรือสะท้อนอีกเล็กน้อย กล้องสองตานั้นจะเป็นแบบ Porro ปรึซึม

โครงสร้างโดยทั่วไปของกล้องสองตา
รูปนี้เป็นตัวอย่างโครงสร้างของกล้องสองตาแบบ porro prisms ประกอบด้วย
1. Objective lenses เป็นเลนซ์วัตถุ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ตั้งแต่ 30 มม. ถึง 70 มม.
2. Prisms เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หักเหแสงให้สะท้อนไปมาภายใน ตัวกล้อง เพื่อประโยชน์ในการ ลดความยาวของตัวกล้อง เบี่ยงทิศทาง ของช่องตามอง และที่สำคัญคือ กลับภาพจากเลนซ์วัตถุให้เป็นหัวตั้ง และซ้ายขวา ปริซึมมักทำมาจากเนื้อแก้วคุณภาพสูงเพื่อให้ภาพคมชัด และการสะท้อนได้ดี โดยทั่วไปจะมีเนื้อแก้วสองแบบคือ BK-7 (borosilicate) glass หรือ BAK-4 (barium crown) แต่ BAK-4 จะมีคุณภาพสูงกว่า ทำให้มีราคาแพง
3. Eyepieces หรือ เลนซ์ตา โดยทั่วไปจะมีหลายชิ้นทำจาก เนื้อแก้วคนละประเภท เพื่อให้ลดการคลาดสี (สีรุ้งที่ขอบภาพ)
4. Focussing knob ตัวปรับระยะความคมชัด การใช้กล้องสองตา อาจจะใช้ประโยชน์หลายอย่าง เช่นดูนก ดูวิว หรือ ดูดาว ซึ่งระยะวัตถุอาจมีความแตกต่างกัน ทำให้ภาพไม่ได้เกิดที่โฟกัส ของเลนซ์วัตถุเสมอไป ตัวปรับโฟกัสจะช่วยให้การมองภาพทุกระยะมี ความคมชัดเสมอ
5. Eyepieces Focus โดยทั่วไปในกล้องสองตาราคาแพงๆ ที่ eyepieces ข้างขวาจะมีการปรับโฟกัสได้อีกครั้ง เพราะตาของ คนเราบางคนสองข้างจะมีความยาวสั้นของสายตาไม่เท่ากัน ตัว eyepieces focus จะเป็นตัวช่วยปรับอีกระยะหนึ่ง โดยการ หลับตามองกล้องทีละข้าง ครั้งแรกให้หลับตาขวา มองกล้องแล้วปรับ Focussing knob ให้ได้ภาพคมชัดก่อน จากนั้นหลับตาซ้าย มองภาพด้วยตาขวาถ้าภาพไม่ชัดให้ปรับ eyepieces focus ให้ภาพชัดที่สุดเป็นอันเสร็จ การปรับ eyepieces focus จะทำเพียงครั้งเดียวสำหรับคนๆหนึ่ง เมื่อมองภาพในระยะอื่นอีก ก็เพียงปรับ Focussing knob อย่างเดียวเท่านั้น แต่หากเปลี่ยนคนมองก็ต้องปรับ eyepieces focus เฉพาะบุคคลนั้นๆอีกทีหนึ่ง


การเลือกซื้อกล้องสองตา
นอกจากกล้องสองตาจะมีอยู่สองแบบตามที่กล่าวไปแล้ว ยังมีเรื่องของขนาดเลนซ์หน้ากล้องและกำลังขยายมาเกี่ยวข้องด้วย โดยมีตัวเลขกำกับเช่น 7x25,7x50,10x50 โดยที่ เลขตัวแรกหมายถึง กำลังขยาย 7 เท่า 10 เท่า เลขตัวหลังคือขนาดหน้าเลนซ์วัตถุ เป็นมิลลิเมตร เช่น 25 มม. 50 มม. เป็นต้น
การตัดสินใจว่าจะเลือกซื้อแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน
1.เพื่อการดูนก การท่องเที่ยวหรือเดินทางบ่อยๆ ควรเลือกแบบ roof-prism เพราะกล้องแบบนี้จะมีขนาดเล็กโดยทั่วไปจะเป็น 8x24 หรือ 10x25 ทำให้มีน้ำหนักเบา
2. เพื่อการดูดาว สำหรับนักดูดาวสมัครเล่น ควรเลือก ที่หน้ากล้อง ตั้งแต่ 50 มม.ขึ้นไปเพราะจะมีเรื่องของปริมาณแสงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การดูดาวต้องการแสงมากยิ่งหน้าเลนซ์กว้างก็จะให้ภาพที่คมชัดและสว่าง เช่น 7x50, 10x50 เป็นกล้องขนาดหน้าเล็นซ์ 50 มม. มีกำลังขยาย 7 และ 10 เท่าตามลำดับ หรือขนาดใหญ่มากๆเลยก็ 70,80,100 มม.ไปเลย ซึ่งจะมีน้ำหนักมาก แต่กำลังขยายก็จะสูงตามไปด้วย และควรจะมีขาตั้งแบบสามขาเพื่อความมั่นคง เพราะการถือด้วยมืออาจจะทำให้ภาพสั่นไหว ทำให้เมื่อยล้าสายตาได้ง่าย
3. การพิจารณากำลังขยายของกล้องสองตา กล้องสองตาส่วนใหญ่จะมีกำลังขยายที่ 7 ถึง 10 แต่บางครั้งก็ต่ำลงอยู่ที่ 6 หรือสูงได้ถึง 12 เท่า แต่ปัจจุบันมีกล้องสองตาแบบที่ปรับกำลังขยายเพิ่มได้เช่นช่วง 7 ถึง 20 เท่า หรือ 10 ถึง 80 เท่า แล้วแต่การออกแบบ แต่การเลือกกำลังขยายสูงมากๆก็ต้องคำนึงถึงความมั่งคงในการจับถือกล้องสองตาให้นิ่งด้วย โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่า L-adaptor ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้จับยึดกล้องสองตาว่างบนขาตั้งกล้องถ่ายรูปทั่วไปได้



กล้องสองตาแบบ Giant Binocular ขนาด 100 มม. ให้กำลังขยาย 50 เท่า ต้องวางบนขาตั้งสามขาที่มั่นคงเพราะมีน้ำหนักมาก ทำให้เมื่อยล้าเมื่อถือไว้นานๆ และภาพสั่นไหวได้ง่าย ราคาอยู่ที่ประมาณ 30,000 กว่าบาท ยังไม่เคยเห็นมีใครนำเข้ามาจำหน่าย

4. พิจารณา Exit Pupil ของกล้องสองตา ให้ใกล้เคียงกับอายุของผู้ใช้ คนทั่วไปที่อายุไม่เกิน 30 ปีจะมี Exit pupil ของตาอยู่ที่ 7 มิลลิเมตร แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่อายุเกิน 40 ขึ้นจะเหลือเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กลง ถ้า Exit Pupil ของกล้องสองตามีขนาดใหญ่กว่าตาผู้ใช้จะทำให้แสงหลุดรอดไปหมดไม่ผ่านเข้าตาโดยตรงภาพที่ได้จะมืดแสง การคำนวนหาค่า Exit pupil ของกล้องสองตาคือขนาดหน้าเล็นซ์หารด้วยกำลังขยาย เช่น 7x50 เท่ากับ 7 จึงเหมาะกับวัยรุ่นหรือคนอายุน้อย คนสูงอายุจะเห็นภาพที่สว่างน้อยลง ส่วน 10x50 เท่ากับ 5 จึงเหมาะทั้งคนวัยรุ่นและสูงอายุ
5. Eye Relief เป็นระยะชัดจากดวงตาถึงเลนซ์ตา ควรมีระยะตั้งแต่ 10 ถึง 15 มม. ถ้าหากสั้นไปจะมีปัญหากับคนที่ใส่แว่นตาจะมองไม่ชัดเพราะติดแว่น ต้องถอดแว่นตาออก แต่ถ้ายาวเกินไปจะทำให้ถูกรบกวนจากแสงภายนอก

Field of View หรือ มุมมองของภาพ
เป็นขนาดหน้าต่างภาพที่เราเห็นจากกล้องสองตาหรือกล้องส่องทางไกลทั่วไป ว่าจะสามารถมองได้กว้างเพียงใด ซึ่งมุมมองของภาพจะไม่ขึ้นกับขนาดของหน้าเลนซ์ แต่จะขึ้นกับกำลังขยายของกล้อง กล้องที่มีกำลังขยายมากมุมมองจะแคบที่เราเรียกกันว่า "ฟิลด์แคบ" และขึ้นอยู่กับ eyepieces และการออกแบบปริซึมของกล้องสองตา โดยมุมมองของภาพมีค่าเรียกกันเป็นองศา หรือ ระยะความกว้างเป็นฟุตที่ระยะห่าง 1000 หลา ซึ่งเราสามารถหาความสัมพันธ์ของมุมมอง กับพื้นที่ที่เห็นได้จากสูตร
พื้นที่ที่เห็น = มุมมองของภาพ(องศา) x 52.50
เช่นกล้องสองตามีมุมมองภาพ 15 องศา จะเห็นพื้นที่กว้างเท่ากับ 15 x 52.5 = 787 ฟุตที่ระยะห่าง 1000 หลา เป็นต้น
ในบางครั้งบนกล้องสองตาจะมีการพิมพ์ค่าสัดส่วนของพื้นที่ที่เห็นกับระยะห่างไว้ด้วย ซึ่งจะเป็นการบอกค่า Field of View ของกล้องสองตานั้นๆเช่นกัน ตัวอย่างเช่น
กล้องสองตาอันหนึ่งมีการพิมพ์ค่าสัดส่วนของพื้นที่ที่เห็นกับระยะห่างไว้ 216 FT/1000 YDS หมายถึง กล้องสองตานี้ให้พื้นที่ที่เห็นกว้าง 216 ฟุตที่ระยะ 1000 หลา เราก็สามารถคำนวนได้จากสูตรข้างต้นคือ 216/52.5 เท่ากับ 4 องศา หรือแปลงเป็นกำลังขยายได้คือ 52.5 /4 = 13 เท่า


ความสัมพันธ์ระหว่าง True Field กับ Apparent Field
Apparent Field คือมุมมองจากเลนซ์ตาที่สามารถทำได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบชิ้นเล็นซ์ โดยทั่วไปจะมีค่าอยู่ตั้งแต่ 25-30 องศาจนถึงกว้างสุด 80 องศาหรือมากกว่า
True Field คือมุมมองจากภาพจริงที่เห็นด้วยตา



เราสามารถหาความสัมพันธ์ได้ว่า True Field = Apparent Field / กำลังขยายของกล้อง
หรือ กำลังขยายของกล้อง = Apparent Field / True Field
ตัวอย่างเช่น กล้องสองตาอันหนึ่งมีกำลังขยาย 10 เท่า มี Apparent field กว้าง 50 องศา ดังนั้น True Field = 50/10 = 5 องศา แต่ถ้ากล้องสองตาที่มีกำลังขยาย 7 เท่ามี Apparent field เท่ากันคือ 50 องศาจะได้ Trur Field = 50/7 = 7 องศา จะเห็นว่ายิ่งเพิ่มกำลังขยาย True field ก็ยิ่งแคบลง

ในบางครั้งเราต้องการจะทราบถึงกำลังขยายที่แท้จริงของกล้องสองตาด้วยว่าเป็นจริงตามข้อความที่พิมพ์อยู่บนตัวกล้องหรือไม่ เราก็สามารถทดสอบหาอย่างง่ายโดยใช้ดวงจันทร์เป็นตัวช่วยได้ ซึ่งดวงจันทร์มีขนาดปรากฏ True Field เท่ากับ 1/2 องศา เมื่อเราสองด้วยกล้องสองตา ดูว่าภาพที่เห็นสามารถบรรจุดวงจันทร์ได้กี่ดวง ยกตัวอย่างเช่น 7 ดวง จะเท่ากับ 7 x 1/2 = 3.5 องศา เราก็สามารถบอกได้ว่ากล้องนี้มี Field of View กว้าง 3.5 องศาแปลงให้เป็นกำลังขยายได้เท่ากับ 52.5/3.5 = 15 เท่า


หรือจะใช้กลุ่มดาวเป็นตัววัดก็ได้เช่น กลุ่มดาวหมีใหญ่ในฤดูร้อน หรือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปียในฤดูหนาว เพราะกลุ่มดาวทั้งสองจะเป็น กลุ่มดาวเด่นชัด ที่ผลัดกันขึ้นบนท้องฟ้า

แคสซิโอเปีย กลุ่มดาวฤดูหนาว ดาวคู่ปีกด้านซ้ายจะห่างกันราว 4 องศา
ถ้ากล้องขนาด 7 เท่า จะครอบคุมฟิลด์กว้าง 7.5 องศาเห็นพื้นที่เหลือระหว่างดาวสองดวง ตามวงสีแดง
ถ้ากล้องขนาด 10 เท่า จะครอบคุมฟิลด์กว้าง 5 องศาจะเหลือพื้นที่ระหว่างดาวสองดวงน้อยลง ตามวงสีน้ำเงิน
แต่ถ้ากล้องขนาด 15 เท่า จะครอบคุมฟิลด์แคบลงเหลือเพียง 3.5 องศา จะทำให้ดาวสองดวงล้นฟิลด์มองไม่เห็น ตามลงสีเขียว


กลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวฤดูร้อน ดาวคู่หน้า ดูเบ กับ มีเรค จะห่างกันราว 5 องศา

ถ้ากล้องขนาด 7 เท่า จะครอบคุมฟิลด์กว้าง 7.5 องศาเห็นพื้นที่เหลือระหว่างดาวสองดวง ตามวงสีแดง
ถ้ากล้องขนาด 10 เท่า จะครอบคุมฟิลด์กว้าง 5 องศา จะพอดีระหว่างดาวสองดวง ตามวงสีน้ำเงิน
แต่ถ้ากล้องขนาด 15 เท่า จะครอบคุมฟิลด์แคบลงเหลือเพียง 3.5 องศา จะทำให้ดาวสองดวงล้นฟิลด์มองไม่เห็น ตามลงสีเขียว



การสำรวจเอกภพด้วยกล้องสองตา
ปัจจุบันนี้นักดูดาวรุ่นใหม่มักจะถามหาแต่กล้องดูดาวก่อนอย่างแรก โดยไม่ค่อยสนใจกับกล้องสองตาเลย ซึ่งแท้จริงแล้วการท่องเอกภพ ด้วยสองตานั้นดีกว่าตาเดียวมากนัก

กล้องสองตามีประโยชน์อย่างไร
1. ใช้งานง่ายไม่ว่าจะนั่งดูยืนดูหรือนอนดู
2. น้ำหนักเบา เด็กๆก็สามารถท้องเอกภพด้วยมือและตาของเค้าเองได้สบาย
3. สะดวกรวดเร็ว ไม่ยุ่งยากในขณะที่กล้องดูดาวต้องเสียเวลาในการติดตั้งและประกอบอุปกรณ์


10 อันดับยอดฮิตที่ใช้กล้องสองตา


1. The Moon ดวงจันทร์
ใช้ดูหลุมอุกกาบาต(craters) และภูเขาบนดวงจันทร์คุณจะตื่นเต้นจนวางกล้องไม่ลงเลย และขอแนะนำว่า ควรดูดวงจันทร์ที่เป็นเสี้ยวจะเห็นหลุมอุกกาบาต(craters) และภูเขาได้ชัดเจนกว่าตอนเต็มดวง เพราะแสงอาทิตย์จะตกกระทบเฉียง ทำให้เห็นเงาได้ชัดเจนกว่า

2 The Sun ดวงอาทิตย์
นอกจากดวงจันทร์แล้วดวงอาทิตย์เองก็น่าสนใจที่จะดูจุดบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) ด้วยขนาดเชิงมุมที่เท่ากันของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทำให้ได้ภาพใหญ่พอเห็นรายละเอียดได้ แต่มีข้อควรระวังที่จะต้องติดฟิลเตอร์ดวงอาทิตย์ให้กับกล้องสองตาด้วย ห้ามดูดวงอาทิตย์ด้วยกล้องทุกชนิดโดยตรงเด็ดขาด

3. The Milky Way ทางช้างเผือก
แนวทางช้างเผือกที่พาดผ่านท้องฟ้าจากซีกหนึ่งไปอีกซีกหนึ่งที่เราเห็นด้วยตาเปล่าเป็นเหมือนเมฆสีขาว แต่เมื่อเราใช้กล้องสองตาส่องเข้าไปเราจะพบว่าประกอบด้วยระยิบระยับมากมาย น่าตื่นตาตื่นใจ


4. Sagittarius Star Clouds
เป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือกเป็นศูนย์กลางของทางช้างเผือกที่มีกลุ่มดาวอัดกันอยู่อย่างหนาแน่น บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู(Sagittarius) ราศีธนู รูปคล้ายกาน้ำชา ประกอบด้วย Lagoon เนบิวล่า Swan เนบิวล่า Eagle เนบิวล่า M24 และกระจุกดาวเปิด M23


5. The Pleiades
หรือกลุ่มดาวลูกไก่ เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว (Taurus) ปกติจะมองเห็นดาว 6-7 ดวงด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นเพิ่มอีกเป็นสิบเมื่อมองด้วยกล้องสองตา


6. The Andromeda Galaxy
หรือ M31 ในกลุ่มดาวแอนโดเมดร้า เป็นกาแลกซี่เพียงหนึ่งที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า (ไม่นับกาแลกซี่แมคเจลแลนด์ที่สามารถเห็นได้เฉพาะทางซีกโลกใต้เมืองไทยไม่เห็น) คุณจะเห็นแกนสุกสว่างเพิ่มขึ้นเมื่อใช้กล้องสองตา


7. The Orion Nebula
หรือ M42 ในกลุ่มดาวนายพราน(Orion) หนึ่งในอัญมณีท้องฟ้าที่สวยที่สุด ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยกล้องขนาด 11 x ขึ้นไป


8. The Double Cluster
กระจุกดาวคู่ ระหว่างกลุ่มดาวคาสิโอเปีย (Cassiopeia) กับกลุ่มดาว Perseus เป็นกระจุกดาวเปิดคู่ที่สวยงามมาก เมื่อมองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นฝ้าจางๆ แต่เมื่อดูด้วยกล้องที่มีกำลังขยายต่ำๆเช่นกล้องสองตา ถึงจะเห็นความงามได้สมบูรณ์แบบ


9. Albireo
ระบบดาวคู่ของดาวหัวหงส์ในกลุ่มดาวCygnus ซึ่งจะเห็นดาวหนึ่งเป็นสีเหลืองสด อีกดวงเป็นสีน้ำเงิน ด้วยกล้องกำลังขยาย 10 เท่าขึ้นไป


10. Omega Centauri
หรือ NGC 5139 เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่สวยงามมาก มีขนาดใหญ่เท่ากับดวงจันทร์เต็มดวง อยู่ในกลุ่มดาว Centaurus สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในคืนที่ฟ้ามืดสนิท แต่เมื่อใช้กล้องสองตาก็จะช่วยย้ำถึงความสวยงานได้เด่นชัดขึ้น

บรรณานุกรม
แว่นขยาย http://www.pccnst.ac.th/wacharin/light_28.html
กล้องจุลทรรศน์ http://www.pccnst.ac.th/wacharin/light_28.html
กล้องโทรทรรศน์ http://www.pccnst.ac.th/wacharin/light_28.html
เครื่องตรวจในลูกตา http://www.pccnst.ac.th/wacharin/light_28.html
เครื่องฉายภาพนิ่ง http://www.vcharkarn.com/uploads/53/53648.doc
กล้องส่องตา http://www.darasart.com/technic/binocular/main.html